ขั้นตอนการฟื้นฟูและพัฒนาจิตใจ
ศูนย์บำบัดยาเสพติด
เป้าหมายสูงสุดของการฟื้นฟูนั้น คือ การสร้างความเข้าใจในตนเอง เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้รู้จักและมีความเคารพในตนเอง เพื่อที่จะสามารถค้นหา แก้ไข และปรับปรุงตนเองได้ในที่สุด โดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพายาเสพติดอีก เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้กล่าวมาข้างต้น ในส่วนของศูนย์ฟื้นฟูและพัฒนาจิตใจ บ้านสุวรรณนั้น ได้แบ่งขั้นตอนการฟื้นฟู ออกเป็น 6 ระยะ ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 - แรกรับ
ระยะเวลา 10 วัน
ระยะแรกรับนั้น ถือว่ามีความสำคัญต่อผู้เข้ารับการอบรมเป็นอย่างมาก เพราะในระยะนี้ ถือว่าเป็นระยะในการสร้างความรู้จักกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ และผู้เข้ารับการอบรม
ระยะแรกรับนั้น ถือว่ามีความสำคัญต่อผู้เข้ารับการอบรมเป็นอย่างมาก เพราะในระยะนี้ ถือว่าเป็นระยะในการสร้างความรู้จักกันระหดยทางเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ จะทำการซักถามประวัติความเป็นอยู่ของผู้เข้ารับการอบรม และมีการสังเกตพฤติกรรมโดยรวมต่างๆ เพื่อทำการประเมิน และพิจารณาถึงความพร้อมของผู้เข้ารับการอบรม ในขณะเดียวกัน ทางเจ้าหน้าที่จะทำการให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับศูนย์ฯ และชุมชนบำบัดเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้เข้ารับการอบรมและทางครอบครัวด้วยว่างเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ และผู้เข้ารับการอบรม
ในส่วนของผู้เข้ารับการอบรมจะมีเวลาได้พักฟื้นประมาณ 5 - 7 วัน เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นตัว และปรับเวลาความเป็นอยู่ในสอดคล้องกับวิถีชีวิตทั่วไป ตลอดจนสร้างความคุ้นเคย กับสังคมใหม่ในศูนย์ฯ
ขั้นตอนที่ 2
ปรับตัวและสร้างแรงจูงใจ (1 - 3 เดือน)
ในระยะนี้ ผู้เข้ารับการอบรมจะยังไม่มีความมั่นใจในการเข้ารับการฟื้นฟู จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการนี้เกิดขึ้น เพื่อทำให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความเข้าใจถึงกระบวนการฟื้นฟู และสร้างแรงจูงใจในความพยายามจากตนเอง ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม รวมไปถึงทัศนคติ และแนวความคิดที่เป็นเชิงลบ จากประสบการณ์ที่ใช้ยาเสพติด
ขณะเดียวกันผู้เข้ารับการอบรมจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่ทางศูนย์ฯ ได้กำหนดไว้ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยในการเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้
ด้านพฤติกรรม
- ความเป็นอยู่ อย่างเป็นเวลา เช่น การตื่นและเข้านอน และการรับประทานอาหาร
- ความรับผิดชอบต่อตนเอง เช่น การดูแลความสะอาดตนเอง และข้าวของเครื่องใช้
- การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆ ในชุมชนบำบัด
ด้านทัศนคติ
- สร้างความเข้าใจ เรื่องที่มาของความพึงพอใจในการใช้ยาเสพติด
- สร้างการเรียนรู้ ถึงความรู้สึก และพฤติกรรมในช่วงที่ใช้ยาเสพติด
- สร้างการตระหนักถึงผลกระทบ ต่อบุคคลรอบข้าง ในช่วงที่ใช้ยาเสพติด
ขั้นตอนที่ 3
พัฒนาพฤติกรรม (4 - 6 เดือน)
จากรากฐานความเชื่อในระบบของชุมชนบำบัดที่ว่า "ช่วยเหลือเขา เพื่อให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเอง" (Helping a man to help himself) นั้น ในระยะนี้ ผู้เข้ารับการอบรม จะถูกเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่ถูกสั่งสมมาจากประสบการณ์ในช่วงที่ใช้ยาเสพติด
โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ จะสอดคล้องกับหลักปรัชญาเบื้องต้น คือ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงจากตนเองเท่านั้น
พฤติกรรมที่จะมุ่งเน้นในการพัฒนาในระยะนี้ได้แก่
- ความต่อเนื่อง และความสม่ำเสมอในการดูแลตนเอง
- ความรับผิดชอบ ต่อบทบาทหน้าที่ ทั้งต่อทีมงานและเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนงานที่ได้รับมอบหมาย
- การวางแผน สำหรับการบริหารงานที่ได้รับมอบหมาย
- ความกล้าในการเผชิญต่อปัญหาที่เข้ามา และรู้จักการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
- ความมีน้ำอด น้ำทน ต่อการเผชิญปัญหา และลดความคาดหวัง เอาแต่ใจ
- สร้างค่านิยมในเรื่องความซื่อสัตย์ (เลิกหาข้ออ้าง ข้อแก้ตัว รวมไปถึงการโกหก) สามารถยอมรับความจริง ไม่เพ้อฝัน
- สร้างความภาคภูมิในตนเอง
- สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
- การปรับ และการเข้าหาบุคคลรอบข้าง
- การฝึกการควมคุมอารมณ์ และสามารถหาทางออกได้อย่างเหมาะสม

ขั้นตอนที่ 4
เตรียมความพร้อมกลับสู่สังคม (7 - 9 เดือน)
เมื่อผู้เข้ารับการอบรม ได้ผ่านการพัฒนาด้านพฤติกรรมแล้ว ผู้เข้ารับการอบรมมีความจำเป็น ที่จะต้องนำสิ่งที่ได้พัฒนาและเรียนรู้ มาประยุกต์ใช้ชีวิตจริง
ซึ่งในระยะนี้เป็นระยะที่สำคัญมากที่สุดระยะหนึ่ง เพราะช่วงนี้ทางครอบครัวของผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม / บทบาทต่อการฟื้นฟูของผู้เข้ารับการอบรม โดยทางศูนย์ฯ จะมีการจัดทำแผน และวางแนวทางปฎิบัติ สำหรับผู้เข้ารับการอบรมตามหลักวิชาการ และให้คำปรึกษา ตลอดจนมีการสะท้อนมุมมองระหว่าง ผู้เข้ารับการอบรม ครอบครัว และผู้ให้คำปรึกษาสำหรับอนาคต เพื่อสร้างแนวทางที่เหมาะสม ทั้ง 3 ด้าน อันประกอบไปด้วย ตนเอง ครอบครัว และสังคม เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนและดำเนินชีวิตอย่างระมัดระวัง ได้อย่างยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ 5
เริ่มกลับสู่สังคม (10 - 12 เดือน)
หลังจากผู้เข้ารับการอบรมได้ผ่านการจัดทำแผนการกลับเข้าสู่สังคมแล้ว ผู้เข้ารับการอบรม จะมีสิทธ์ไปเยี่ยมบ้านเพื่อทดลองกลับไปพัฒนาความสัมพันธ์กับครอบครัว ได้เดือนละ 1 ครั้ง และลองสร้างความคุ้นเคย ในการกลับเข้าสู่สังคมต่อไป
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการอบรมประสบปัญหาในการกลับเข้าสู่สังคมและการดำรงชีวิต ทางครอบครัวจะต้องให้ความร่วมมือกับทางศุนย์ฯ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม แก่ผู้เข้ารับการอบรมได้ทันท่วงที เพื่อให้เกิดประสิทธ์ภาพสูงสุดแก่ตัวผู้เข้ารับการอบรม
ส่วนในด้านการพัฒนาของผู้เข้ารับการอบรมในชุมชนบำบัดนั้น ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องมีความสม่ำเสมอในการรักษามาตราฐาน ทั้งด้านความรับผิดชอบ และด้านพฤติกรรม ได้อย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งผู้เข้ารับการอบรมจะต้องนำประสบการณ์ และการเรียนรู้ของตนเอง เอาออกมาถ่ายทอดแก่ผู้เข้ารับการอบรมรุ่นต่อไป
ขั้นตอนที่ 6
กลับสู่สังคมและติดตามผล
เมื่อผู้เข้ารับการอบรมได้ผ่านขั้นตอนทั้งหมดแล้ว ทางศูนย์ฯ จะทำการประเมินผลครั้งสุดท้าย เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมกลับไปใช้ชีวิตในสังคม โดยไม่พึ่งพายาเสพติดอีกต่อไป
โดยระยะนี้ ทางศูนย์ฯ จะทำการติดตามผลผู้เข้ารับการอบรม โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะคร่าวๆ ได้แก่
Phase A (2 - 3 เดือน)
- ติดตามความสัมพันธ์กับการติดต่อกับบุคคลต่างๆ ในสังคม
- ติดตามความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้ารับการอบรม ผู้ปกครอง ครอบครัว และเพื่อน
- การวางแผนอนาคต เช่น การเรียน หรือ การทำงาน
Phase B (3 - 4 เดือน)
- การรายงานผลความคืบหน้า ในด้านความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง
- การรายงานผลในผลของความรับผิดชอบ ในแผนอนาคตที่ได้จัดทำไว้
Phase C (4 - 6 เดือน)
- การวางแผนค่าใช้จ่าย และการออม
- การวางแผนอนาคตในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
หลังจากนั้นทางศุนย์ฯอาจมีการโทรศัพท์สอบถามความเป็นอยู่ หรือให้ผู้เข้ารับการอบรมกลับเข้ามาแสดงตัว เพื่อพูดคุย และให้คำแนะนำถึงปัญหาหรือุปสรรคที่ผู้เข้ารับการอบรมได้ประสบมาต่อไป